Friday, January 15, 2010

Organiztion Design: Fashion or Fit? by Henry Mintzberg การออกแบบองค์การ: ตามแฟชั่นหรือต้องเหมาะสม? โดย เฮนรี่ มิ้นซ์เบิร์ก

มีโอกาสแปล บทความและสรุปใจความให้เพื่อนที่เรียนเอกอยู่ค่ะ เลยถือโอกาสแบ่งปันให้ทุกคนที่สนใจอยากทำความเข้าเรื่องนี้เพิ่มขึ้นนะคะ มีคำถามๆได้ค่ะ

การออกแบบองค์การ

ตามแฟชั่นหรือต้องเหมาะสม?

เพราะองค์การมีโครงสร้างทางธรรมชาติ ความสอดคล้องในส่วนต่างๆอาจเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จทางองค์การ

ทำไมอุตสาหกรรมยานยนต์จึงต้องใช้เวลานานเหลือเกินที่จะปรับตัวสู่การความต้องการรถยนต์ที่เล็กลง ทำไมกลุ่มผู้ผลิตหนังถึงได้ทิ้งบริษัทที่ทำงานร่วมกันไปเริ่มบริษัทตนเอง ทำไมมหาลัยและโรงพยาบาลรัฐหลายแห่งถึงได้ซบเซาภายใต้การควบคุมของรัฐบาล เราสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้หลายวิธี ด้วยเหตุผลหลายประการ แต่เหตุผลธรรมดาเหตุผลหนึ่งสำหรับคำถามทังหมดนี้ ผู้เขียนบทความนี้คงจะบอกได้ว่า คงมีองค์ประกอบบางอย่างในการออกแบบองค์การที่ไม่เหมาะสมอย่างมากต่องาน (task) ระบบการบริการที่เป็นพิธีรีตองเหมือนเครื่องจักรใหญ่ ก็เหมาะกับการผลิตจำนานมากแต่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ทันทีทันใดต่อสถานการณ์ใหม่ๆ แผนกผลิตภาพยนคร์พึ่งโครงสร้างที่ยืดหยุ่นได้เพื่อผลิตนวัตกรรมใหม่ ซึ่งยากที่จะสำเร็จได้เมื่อยู่ท่ามกลางบริษัทที่ทำงานร่มกันเป็นกลุ่มก้อนที่ควบคุมการดำเนินงานโดยดูผลเป็นสำคัญ ท้ายที่สุด มหาลัยและโรงพยาบาลรัฐ้องการรูปแบบการควบคุมที่เป็นมืออาชีพที่เหมาะมาตรฐานความขำนาญทางวิชาการที่รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะกำหนด

ผู้เขียนบทความนี้ได้พบว่ามีองค์การหลายแห่งที่ใกล้เคียงกับหนึ่งในห้า รูปแบบ วึ่งแต่ละกันประกอบไปด้วยส่วนต่างๆของโครงสร้างและสภาวการณ์ เมื่อนักออกแบบองค์การหรือผู้จักการพยายามจับส่วนนั่นมาผสมส่วนนี้ mix and match กลับได้อะไรที่ไม่พอดี เหมือนกับผ้าแต่ละผืนที่ตัดได้แย่มาทำเป็นชุด ก็ไส่ได้ไม่พอดี

Mr Mintzberg เป็นศาสตราจารย์คณะการจัดการที่ Mc Gill U.

  • เครือบริษัทเทคโอเวอร์ผู้ผลิตขนาดเล็กและพยายามที่จะนำเอางบประมาณ แผนการ แผนภูมิองค์การ และระบบอื่นๆนับไม่ถ้วนไปใช้กับมัน ผลที่ตามมาคือ ของการขายและเปลียนแปลงของสินค้าที่ลดลง และเกือบล้มละลาย จนกระทั่ง ผู้จัดการแผนกได้ซื้อบริษัทกลับไปและเปลี่ยนให้ดีขึ้น
  • บรรดาผู้ให้คำปรึกษาได้เสนอที่จะแนะนำเทคนิคการจัดการล่าสุดอยู่ไม่หยุดหย่อน หลายปีที่ผ่านมา PERT และ MBO เป็นอะไรที่ทันสมัย ต่อมาก็เป็น LRP และOD ปัจจุบัน เป็นQWL และ ZBB
  • รัฐบาลได้ส่งนักวิเคราะห์ไปเพื่อทำให้ระบบโรงเรียน โรงพยาบาล และหน่วยงานประกันสังคมทั่วประเทศดูมีเหตุมีผล เป็นมาตรฐาน และเป็นทางการ ผลที่ได้รับคือหายนะดีๆนี่เอง

เหตุการณ์เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าปัญหาใหญ่หลายๆประการ ของการออกแบบองค์การเกิดจากการสรุปไปเองว่าทุกองค์การก็เหมือนกันหมด การสะสมเล็กๆน้อยๆของส่วนประกอบซึ่งสามารถตัดหรือเพิ่มปัจจัยสำคัญของโครงสร้างเข้าไปได้ตามใจชอบ ก็เป็นเหมือนตลาดนัดทางองค์การ

ข้อสมมติฐานที่ตรงกันข้าม คือความคิดที่ว่า องค์การที่มีประสิทธิภาพได้มาซึ่งความลงตัวในบรรดาส่วนประกอบของมัน โดยองค์การจะไม่เปลี่ยนปัจจัยหนึ่งใดโดยไม่ได้ตระหนักถึงผลที่จะเกิดแก่ปัจจัยอื่นๆ ทั้งนี้ อาณาเขตการควบคุม ระดับการขยายงาน รูปแบบการกระจายสู่ส่วนกลาง ระบบการวางแผน และโครงสร้างทางแมทริก ไม่ควรเลือกโดยการสุ่ม ทางที่ดีกว่านั้น พวกมันควรได้รับการเลือกโดยการจัดกลุ่มอันต่อเนื่องภายใน และการจัดกลุ่มนี้ควรต่อเนื่องกับสภาวการณ์ อายุและขนาดขององค์การ และเงื่อนไขทางอุตสาหกรรมที่มันดำเนินการอยู่รวมถึงเทคโนโลยีการผลิต โดยแท้ ข้อโต้แย้งของผมคือ เหมือนกับปรากฎการณ์ทางธรรมชาติทั้งหมดตั้งแต่ อะตอมถึงดวงดาว ลักษณะเฉพาะขององค์การก็เป็นกลุ่มโดยธรรมชาติ หรือ รูปแบบconfiguration เมื่อลักษณะเหล่านี้ถูกจับคู่อย่างผิดๆ เมื่อเอาสิ่งที่ไม่ใช่มารวมกัน- องค์การนั้นๆก็ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถกลมกลืนกันตามธรรมชาติได้ หากผู้จัดการต้องการออกแบบองค์การที่มีประสิทธิภาพ พวกเขาต้องใส่ใจเรื่องความเหมาะสม (fit)

หากเราดูการค้นคว้าอันมากมายเรื่องการจัดโครงสร้างองค์การเพื่อจุดประกายความคิด ความสับสนทั้งหลายก็จะหดหายไปและการบรรจบอันชัดเจนก็จะเผยขึ้น ฝดดยเฉพาะอย่างยิ่ง รูปแบบอันชัดเจน 5 รูปแบบได้ปรากฎขึ้นโดยมีเอกลักษณ์เฉพาะในโครงสร้าง และสภาวการณ์ที่พบรูปแบบเหล่านี้ แม้แต่เรื่องช่วงเวลาทางประวัติศาตร์ที่มันได้รับการพัฒนาขึ้น ผมขอเรียกมันว่า โครงสร้างธรรมดา ระบบราชการแบบจักรกล ระบบราชการอาชีพ รูปแบบแบ่งแผนก และ adhocracy โดยในบทความนี้ ผมบรรยายรูปแบบเหล่านี้และคำนึงถึงข่าวสารที่มันมีอยู่เพื่อผู้จัดการ

สรุปรูปแบบอย่างคร่าวๆนะคะ

การกำเนิดรูปแบบ

การกำเนิดรูปแบบ

พิจารณาโดยมองว่า Organization ประกอบด้วย

1. Strategic apex

2. Operating core

3. Technostructure

4. Support staff

5. Middle line


1. Simple Structure


ลักษณะ: องค์การแบบ Supervision หรือ ควบคุมงานโดยตรง คือ

  • few top manager
  • a group of operators
  • ไม่เป็นมาตรฐานและทางการเท่าไหร่
  • ไม่ค่อยได้ใช้การวางแผน การอบรม การประสานงาน
  • ใช้การดูแลควบคุมงานโดยตรงเพื่อให้ strategic apex สำเร็จ
  • CE มีอำนาจควบคุม เป็นศูนย์กลาง


1 comment:

tarn said...

ต้องทำรายงานเรื่องนี้ค่ะ ถ้าขอที่แปลเอาไว้ได้ไหมค่ะ ถ้าได้รบกวนส่งมาที่เมล์ tarnny101@hotmail.com ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ