Scientific Management
Frederick W. Taylor
สิ่งที่ผมต้องการที่จะพิสูจน์กับพวกท่านและทำให้ท่านเข้าใจชัดเจนคือว่าหลักการเรื่องการจัดการวิทยาศาสตร์เมื่อนำไปใช้อย่างเหมาะสมและเมื่อให้เวลากับมันเพียงพอเพื่อให้มันมีประสิทธิผลจริง
มันจะได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นและมากขึ้นในทุกกรณี ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง มากกว่าที่ท่านจะสามารถทำได้ภายใต้การจัดการชนิดที่หาได้ยากนี้ซึ่งผมได้ร่างไว้ ที่มีชื่อว่า การจัดการของ “การริเริ่มสร้างสรรค์และแรงจูงใจ”
ซึ่งคนเหล่านั้นที่อยู่ด้านการจัดการเจตนาให้สิ่งจูงใจเยอะมากแก่คนงานของพวกเขา
และในทางกลับกันคนงานก็ทำงานเต็มความสามารถของพวกเขาตลอดเวลาเป็นการตอบแทนโดยเห็นแก่นายจ้างของพวกเขา
ผมต้องการที่จะแสดงให้เห็นว่าการจัดการวิทยาศาสตร์นั้นดีกว่าการจัดการแบบที่หายากนี้มากเพียงใด
ประโยชน์แรกซึ่งการจัดการวิทยาศาสตร์มีเหนือการจัดการแบบการริเริ่มสร้างสรรค์และแรงจูงใจคือ
ภายใต้การจัดการวิทยาศาสตร์การริเริ่มสร้างสรรค์ของคนงาน-ซึ่งได้แก่การทำงานหนักของเขา
เจตนาที่ดีของเขา ความเฉลียวฉลาดของพวกเขา- ในทางปฏิบัติได้มาด้วยความสม่ำเสมอล้วนๆ
หากอยู่ใต้การจัดการแบบเก่าที่ดีที่สุดการริเริ่มสร้างสรรค์นี้ได้มาเป็นพักๆและไม่สม่ำเสมอ
อย่างไรก็ตาม การได้มาซึ่งการริเริ่มสร้างสรรค์ของคนงานนี้เป็นสิ่งที่น้อยกว่าสาเหตุสำคัญสองประการซึ่งทำให้การจัดการวิทยาศาสตร์ดีกว่าการจัดการแบบเก่าทั้งสองฝ่าย
จนถึงตอนนี้ ข้อได้เปรียบที่มากกว่าภายใต้การจัดการวิทยาศาสตร์นั้นมาจาก
ภาระและหน้าที่ใหม่และยิ่งใหญ่ซึ่งคนฝ่ายการจัดการรับไปทำด้วยความเต็มไจ
ภาระและหน้าที่ใหม่เหล่านี้ผิดปกติและมากจนสำหรับคนไม่เคยชินกับการจัดการภายใต้โรงเรียนเก่าแก่แล้วอาจจะเป็นสิ่งที่เกือบจะเข้าใจไม่ได้
ภาระและหน้าที่เหล่านี้ได้ถูกรับไปด้วยความเต็มใจภายใต้การจัดการวิทยาศาสตร์ โดยคนที่อยู่ฝ่ายการจัดการ
ถูกแยกและจำแนกเป็นสี่กลุ่มที่แตกต่างกันและหน้าที่ใหม่ทั้งสี่ชนิดเหล่านี้ที่ทำโดยการจัดการถูกเรียกว่า(ไม่ว่าถูกหรือผิด)
“หลักการจัดการวิทยาศาสตร์”
หน้าที่แรกในบรรดากลุ่มทั้งสี่นี้ที่ถูกรับไปโดยการจัดการคือการตั้งใจรวบรวมบรรดาความรู้ดั้งเดิมจำนวนมากในส่วนของคนที่อยู่ฝ่ายการจัดการ
ซึ่งในอดีตอยู่ในระดับหัวหน้าคนงาน และในทักษะทางกายภาพและความชำนาญพิเศษของคนงาน
ซึ่งเขาได้มาจากประสบการณ์หลายปี ผู้จัดการตามหลักวิทยาศาสตร์มีหน้าที่การรวบรวมความรู้ดั้งเดิมจำนวนมากนี้และจดบันทึกมันไว้
ใส่ลงในตาราง และในหลายๆกรณี ปรับลดมันให้กลายเป็นกฎหมาย กฎ
และแม้แต่สูตรคณิตศาสตร์ และต่อมา เมื่อกฎหมาย กฎ และสูตรเหล่านี้ได้ถูกนำไปปฏิบัติในงานทุกๆวันของคนงานทุกคนในทุกที่ๆจัดตั้ง
ผ่านทางการดำเนินการที่ใกล้ชิดและเต็มใจของคนเหล่านั้นที่อยู่ฝ่ายการจัดการ
พวกมันจะผลที่ต่าง ประการแรก ในการผลิตผลิตผลที่มากขึ้นมากต่อคน
และผลิตผลที่ดีกว่าและมีคุณภาพสูงกว่า
และประการที่สองทำให้บริษัทจ่ายค่าจ้างได้สูงกว่าให้คนงานของเขา
และประการที่สามทำให้บริษัทมีกำไรมากกว่า ส่วนแรกของหลักการนี้
อาจเรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาวิทยาศาสตร์เพื่อแทนที่ความรู้ทั่วๆไป(rule of
thumb)ของคนงาน
ซึ่งหมายถึงความรู้ที่คนงานมีและซึ่งในหลายๆกรณีค่อนข้างจะตรงกับที่ได้มาโดยการจัดการ
แต่เป็นสิ่งที่คนงานเก้าร้อยเก้าสิบเก้าคนในพันคนเก็บไว้ในหัวของเขา
และเป็นสิ่งที่ไม่ได้บันทึกไว้โดยสมบูรณ์ถาวร
มีการคัดค้านอย่างจริงจังในการใช้คำว่า
“วิทยาศาสตร์” ในเรื่องที่เกี่ยวข้องนี้
ผมค่อนข้างแปลกใจที่คำคัดค้านส่วนใหญ่มาจากศาสตราจารย์ในประเทศนี้ พวกเขารังเกียจการใช้คำว่าวิทยาศาสตร์ในสิ่งเล็กๆน้อยๆเช่นเหตุการณ์ธรรมดาที่เกิดขึ้นทุกวันของชีวิต
ผมคิดว่าคำตอบที่เหมาะสมที่ให้แก่การวิพากษ์วิจารณ์นี้คือการยกคำนิยามที่ได้ให้ไว้โดยศาสตราจารย์ผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับในฐานะนักวิทยาศาสตร์ในประเทศนี้-อธิการบดี
McLaurin จาก IT Boston ซึ่งนิยามคำว่าวิทยาศาสตร์ว่าเป็น
“ความรู้ใดๆที่ได้รับการจำแนกหรือรวบรวม” และแน่นอน มีการรวบรวมความรู้ดังที่ได้กล่าวก่อนหน้านี้
แต่อยู่ในภาวะที่ไม่ได้รับการจำแนกแยกแยะในความนึกคิดของคนงาน
และนำมาปรับลดความรู้เป็นกฎหมาย กฎ และสูตร ซึ่งแสดงถึงการจำแนกและรวมความรู้
แม้อาจจะไม่พอต่อการยอมรับของบางคนที่จะเรียกมันว่าวิทยาศาสตร์
หน้าที่กลุ่มที่สองซึ่งถูกรับไปทำโดยคนที่อยู่ฝ่ายการจัดการด้วยความเต็มใจภายใต้การจัดการวิทยาศาสตร์คือการเลือกสรรทางวิทยาศาสตร์และหลังจากนั้นเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของคนงาน
มันกลายเป็นหน้าที่ของที่อยู่ฝ่ายการจัดการที่จะศึกษาลักษณะ ธรรมชาติ
และสมรรถนะของคนงานแต่ละคนโดยมุ่งหาข้อจำกัดของเขาในทางหนึ่ง
และที่สำคัญมากกว่าคือศักยภาพของเขาในการพัฒนาในอีกทางหนึ่ง
และหลังจากนั้นอบรมและช่วย และสอนคนงานคนนี้อย่างตั้งใจและเป็นระบบ เมื่อเป็นไปได้
ให้โอกาสเขาก้าวหน้าซึ่งจะช่วยให้เขาทำงานในระดับสูงสุด และน่าสนใจที่สุดและเกิดประโยชน์(กำไร)สูงสุดซึ่งเหมาะกับความสามารถทางธรรมชาติของเขา
ซึ่งเปิดให้เขาในบางบริษัทซึ่งเขาได้รับการจ้างทำงาน
การเลือกสรรคนงานทางวิทยาศาสตร์และการพัฒนาของเขานี้ไม่ได้เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นเพียงแค่ครั้งเดียว
มันใช้เวลาหลายปีและเป็นการศึกษาที่ต่อเนื่องในส่วนของการจัดการ
หลักการที่สามของการจัดการวิทยาศาสตร์คือการนำเอาวิทยาศาสตร์และคนงานที่ถูกเลือกและฝึกอบรมทางวิทยาศาสตร์มารวมกัน
ผมกล่าวว่า “นำมารวมกัน” ในเขิงแนะนำ เนื่องจากท่านอาจพัฒนาวิทยาศาสตร์ทั้งหมดได้ตามใจท่าน
และท่านอาจเลือกและฝึกอบรมคนงานโดยทางวิทยาศาสตร์มากเท่าที่ท่านพอใจ แต่หากไม่มีคนที่นำเอาวิทยาศาสตร์และคนงานมารวมกัน
งานที่ท่านลงแรงไปก็สูญเปล่า พวกเราทั้งหมดได้รับการสร้างขึ้นให้สามในสี่ครั้งเราจะทำงานตามวิธีที่เหมาะกับเราที่สุด
ซึ่งหมายความว่า เราจะทำตามวิทยาศาสตร์หรือเราจะไม่ทำตาม; เราจะทำงานของเราตามกฎของวิทยาศาสตร์หรือทำตามวิธีเก่าๆของเราเอง
อย่างที่เราเห็นเหมาะสมยกเว้นว่าจะมีคนอยู่ที่นั่นเพื่อดูว่าเราทำตรงตามหลักการวิทยาศาสตร์หรือเปล่า
ดังนั้น ผมใช้คำว่า “นำเอาวิทยาศาสตร์และคนงานมารวมกัน”ในเชิงแนะนำ อย่างไรก็ตาม โชคร้ายมาที่คำว่า
“นำเอา” มีเสียงที่ไม่เข้ากัน อาจจะฟังดูเหมือนบังคับ และ บางที
เมื่อได้ยินครั้งแรกมันทำให้คนไม่นึกโยงไปถึงสิ่งที่เรามองว่าเป็นแนวโน้มสมัยใหม่
เวลาที่จะให้คำว่า “นำเอา” ด้วยความรู้สึกถึงการบังคับ
เกี่ยวกับเรื่องส่วนใหญ่นั้นได้หมดไปแล้ว แต่ผมคิดว่าผมอาจจะใช้คำนี้ให้เบาลงในบางกรณีโดยกล่าวว่าเก้าในสิบของปัญหาของพวกเราผู้ซึ่งยุ่งอยู่กับการช่วยคนเปลี่ยนจากการจัดการแบบเก่าไปการจัดการแบบใหม่-ซึ่งคือการจัดการวิทยาศาสตร์-
ว่าเก้าในสิบของปัญหาของพวกเราคือการ “นำ”
คนเหล่านั้นที่อยู่ฝ่ายการจัดการให้ทำงานส่วนของเขาอย่างยุติธรรมและมีแค่หนึ่งในสิบของปัญหาของเราที่มาจาดผ่ายคนงาน
เราพบการต่อต้านอย่างมากไม่แตกต่างกันนักในส่วนของคนที่อยู่ฝ่ายการจัดการในการทำหน้าที่ใหม่ของพวกเขาและโดยเปรียบเทียบแล้วมีการต่อต้านน้อยในส่วนของฝ่ายคนงานในการประสานงานเพื่อทำหน้าที่ใหม่ของพวกเขา
ดังนั้นคำว่า “นำเอา” ประยุกต์ใช้ได้โดยการบีบบังคับได้กับคนที่อยู่ฝ่ายการจัดการมากกว่าคนที่อยู่ฝ่ายคนงาน
หลักการที่สี่ของการจัดการวิทยาศาสตร์บางทีอาจเป็นสิ่งที่ยากที่สุดในหลักการทั้งสี่ของการจัดการวิทยาศาสตร์สำหรับคนทั่วไปที่จะเข้าใจ
มันประกอบไปด้วยการแบ่งแยกที่เกือบเท่ากันของงานที่ทำอยู่จริงของการจัดตั้งระหว่างคนงานในด้านหนึ่ง
และการจัดการในอีกด้าน ซึ่งหมายถึง
งานที่อยู่ใต้การจัดการแบบเก่าในทางปฏิบัติแล้วคนงานเป็นคนทำทั้งหมด ภายใต้อันใหม่
มันถูกแบ่งเป็นสองส่วน และหนึ่งในนั้นถูกส่งไปให้คนที่อยู่ฝ่ายการจัดการ
การแบ่งงานใหม่นี้ การแบ่งปันงานใหม่ให้ฝ่ายการจัดการทำ
นั้นใหญ่มากจนผมคิดว่า ท่านจะสามารถเข้าใจได้ดีกว่าในทางตัวเลขเมื่อผมบอกท่านว่า
ยกตัวอย่างเช่น ในร้านค้าเครื่องจักรที่ทำธุรกิจที่ซับซ้อน-ผมไม่ได้หมายถึงบริษัทผลิตแต่หมายถึงบริษัทวิศวกรรม
หมายถึง ร้านค้าเครื่องจักรซึ่งสร้างเครื่องจักรอันหลากหลายและไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการผลิตมัน-
จะไม่มีคนหนึ่งคนที่อยู่ฝ่ายจัดการแต่คนงานสามคน หมายถึงว่า
การแบ่งงานที่มากนี้-หนึ่งในสาม-
ถูกนำออกจากมือของคนงานและส่งไปที่คนที่อยู่ฝ่ายจัดการ และเนื่องจากการแบ่งงานจริงๆระหว่างทั้งสองฝ่ายมากกว่าส่วนอื่นใดที่ทำไห้ไม่เคยมีการสไตรค์เลยภายใต้การจัดการวิทยาศาสตร์
(จนกระทั่งฤดูร้อนที่ผ่านมา) ในร้านค้าเครื่องจักร ภายใต้การจัดการวิทยาศาสตร์
ไม่มีการกระทำใดหรืองานชั้นใดที่ทำเสร็จโดยคนงานในร้านที่ไม่ได้เริ่มหรือติดตามโดยการกระทำในส่วนของคนที่อยู่ในฝ่ายการจัดการ
ทั้งวัน การกระทำของคนงานแต่ทุกๆคนเชื่อมโยงกับการกระทำที่สอดคล้องของการจัดการ
ประการแรก คนงานทำบางอย่าง และหลังจากนั้นคนที่อยู่ฝ่ายการจัดการทำบางอย่าง
จากนั้นคนงานทำบางอย่าง และภายใต้การประสานงานกันอย่างเป็นส่วนตัว
ใกล้ชิดระหว่างสองฝ่าย
ในทางปฏิบัติแล้วมันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีการทะเลาะกันรุนแรง
แน่นอนว่าผมไม่อยากให้ท่านเข้าใจผมว่าไม่เคยมีการทะเลาะเบาะแว้งภายใต้การจัดการวิทยาศาสตร์
มีการทะเลาะบ้าง แต่เป็นในกรณียกเว้น ไม่ใช่กฎ และหลักฐานชัดว่าขณะที่คนงานเรียนรู้การทำงานในระบบใหม่
และขณะที่การจัดการเรียนรู้งานภายใต้ระบบใหม่นี้ ขณะที่ทั้งสองเรียนรู้
แต่ละฝ่ายในการประสานงานอย่างใกล้ชิดต่อกัน
มีโอกาสมากมายที่จะเกิดการไม่ลงรอยและการทะเลาะและความเข้าใจผิด
แต่หลังจากทั้งสองฝ่ายตระหนักว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะทำงานออกมาได้ตามอัตราความเร็วที่เหมาะสมและถูกต้องโดยปราศจากการประสานงานส่วนตัวและใกล้ชิด
เมื่อทั้งสองฝ่ายตระหนักว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่แต่ละคนจะประสบความสำเร็จได้โดยปราศจากการประสานงานที่ใกล้ชิด
เป็นพี่น้องกัน การไม่ลงรอยกัน การขัดแย้ง และการทะเลาะก็จะลดลงต่ำ ดังนั้น
ผมคิดว่าการจัดการวิทยาศาสตร์สามารถถูกจัดเป็นการจัดการได้อย่างถูกต้องและแท้จริงที่ซึ่งความปรองดองเป็นกฎมากกว่าความขัดแย้ง
มีตัวอย่างหนึ่งของการนำเอาหลักการจัดการวิทยาศาสตร์ไปใช้ซึ่งเราแต่ละคนคุ้นเคยและเราส่วนใหญ่คุ้นเคยตั้งแต่เราเป็นเด็กเล็กๆ
ปละผมคิดว่าตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของการนำเอาการจัดการวิทยาศาสตร์ไปใช้
ผมพูดถึงการจัดการทีมอเมริกันเบสบอลเฟิร์สคลาส ในทีมเช่นนั้นท่านจะพบเกือบทุกส่วนของการจัดการวิทยาศาสตร์
ท่านจะเห็นว่าวิทยาศาสตร์ของการกระทำเล็กๆน้อยๆที่ทำโดยนักเล่นทุกคนในสนามเบสบอลได้รับการพัฒนาขั้น
ทุกๆส่วนของเกมเบสบอลเป็นเรื่อง การศึกษาคนหลายๆคนอย่างใกล้ชิด และท้ายที่สุด
วิธีที่ดีที่สุดในการกระทำแต่ละการกระทำที่เกิดขึ้นในสนามเบสบอลได้รับการเห็นพ้องต้องกันและจัดตั้งอย่างเท่าเทียมถือเป็นมาตรฐานทั้งประเทศ
นักเล่นไม่ได้แค่ถูกบอกถึงวิธีที่ดีที่สุดในท่าหรือการเล่นที่สำคัญ
แต่พวกเขาได้รับการสอน มีครูฝึก ฝึกหัด เป็นหลายๆเดือน
และผมคิดว่าทุกๆคนที่ได้ดูการเล่นแบบเฟิร์สคลาส
หรือรู้เรื่องการจัดการทีมเบสบอลสมันใหม่
ตระหนักถึงความเป็นไปไม่ได้ที่จะชนะด้วยทีมที่มีนักเล่นรายบุคคลที่ดีที่สุดแต่ไม่เคยมาเจอกันยกเว้นว่าทุกๆคนในทีมจะทำตามสัญญาณหรือคำสั่งของโค้ชและเชื่อฟังเขาทันทีเมื่อเขาสั่ง
ซึ่งหมายถึงว่า ปราศจากการแระสานงวานใกล้ชิดระหว่างสมาชิกในทีมและการจัดการ
ซึ่งคือลักษณะของการจัดการวิทยาศาสตร์(แปลเพื่ออ่านเป็นเอกสารประกอบการเรียน MPA 37 จุฬา ฯ และผู้ที่สนใจอ่านศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาติให้นำไปเผยแพร่ที่เว็บอื่นค่ะ)
No comments:
Post a Comment