Saturday, June 30, 2012

การจัดการวิทยาศาสตร์ โดย Frederick W. Taylor


Scientific Management
Frederick W. Taylor

สิ่งที่ผมต้องการที่จะพิสูจน์กับพวกท่านและทำให้ท่านเข้าใจชัดเจนคือว่าหลักการเรื่องการจัดการวิทยาศาสตร์เมื่อนำไปใช้อย่างเหมาะสมและเมื่อให้เวลากับมันเพียงพอเพื่อให้มันมีประสิทธิผลจริง มันจะได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นและมากขึ้นในทุกกรณี ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง มากกว่าที่ท่านจะสามารถทำได้ภายใต้การจัดการชนิดที่หาได้ยากนี้ซึ่งผมได้ร่างไว้ ที่มีชื่อว่า การจัดการของ “การริเริ่มสร้างสรรค์และแรงจูงใจ” ซึ่งคนเหล่านั้นที่อยู่ด้านการจัดการเจตนาให้สิ่งจูงใจเยอะมากแก่คนงานของพวกเขา และในทางกลับกันคนงานก็ทำงานเต็มความสามารถของพวกเขาตลอดเวลาเป็นการตอบแทนโดยเห็นแก่นายจ้างของพวกเขา

ผมต้องการที่จะแสดงให้เห็นว่าการจัดการวิทยาศาสตร์นั้นดีกว่าการจัดการแบบที่หายากนี้มากเพียงใด

ประโยชน์แรกซึ่งการจัดการวิทยาศาสตร์มีเหนือการจัดการแบบการริเริ่มสร้างสรรค์และแรงจูงใจคือ ภายใต้การจัดการวิทยาศาสตร์การริเริ่มสร้างสรรค์ของคนงาน-ซึ่งได้แก่การทำงานหนักของเขา เจตนาที่ดีของเขา ความเฉลียวฉลาดของพวกเขา- ในทางปฏิบัติได้มาด้วยความสม่ำเสมอล้วนๆ  หากอยู่ใต้การจัดการแบบเก่าที่ดีที่สุดการริเริ่มสร้างสรรค์นี้ได้มาเป็นพักๆและไม่สม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม การได้มาซึ่งการริเริ่มสร้างสรรค์ของคนงานนี้เป็นสิ่งที่น้อยกว่าสาเหตุสำคัญสองประการซึ่งทำให้การจัดการวิทยาศาสตร์ดีกว่าการจัดการแบบเก่าทั้งสองฝ่าย จนถึงตอนนี้ ข้อได้เปรียบที่มากกว่าภายใต้การจัดการวิทยาศาสตร์นั้นมาจาก ภาระและหน้าที่ใหม่และยิ่งใหญ่ซึ่งคนฝ่ายการจัดการรับไปทำด้วยความเต็มไจ
ภาระและหน้าที่ใหม่เหล่านี้ผิดปกติและมากจนสำหรับคนไม่เคยชินกับการจัดการภายใต้โรงเรียนเก่าแก่แล้วอาจจะเป็นสิ่งที่เกือบจะเข้าใจไม่ได้ ภาระและหน้าที่เหล่านี้ได้ถูกรับไปด้วยความเต็มใจภายใต้การจัดการวิทยาศาสตร์ โดยคนที่อยู่ฝ่ายการจัดการ ถูกแยกและจำแนกเป็นสี่กลุ่มที่แตกต่างกันและหน้าที่ใหม่ทั้งสี่ชนิดเหล่านี้ที่ทำโดยการจัดการถูกเรียกว่า(ไม่ว่าถูกหรือผิด) “หลักการจัดการวิทยาศาสตร์”
                หน้าที่แรกในบรรดากลุ่มทั้งสี่นี้ที่ถูกรับไปโดยการจัดการคือการตั้งใจรวบรวมบรรดาความรู้ดั้งเดิมจำนวนมากในส่วนของคนที่อยู่ฝ่ายการจัดการ ซึ่งในอดีตอยู่ในระดับหัวหน้าคนงาน และในทักษะทางกายภาพและความชำนาญพิเศษของคนงาน ซึ่งเขาได้มาจากประสบการณ์หลายปี ผู้จัดการตามหลักวิทยาศาสตร์มีหน้าที่การรวบรวมความรู้ดั้งเดิมจำนวนมากนี้และจดบันทึกมันไว้ ใส่ลงในตาราง และในหลายๆกรณี ปรับลดมันให้กลายเป็นกฎหมาย กฎ และแม้แต่สูตรคณิตศาสตร์ และต่อมา เมื่อกฎหมาย กฎ และสูตรเหล่านี้ได้ถูกนำไปปฏิบัติในงานทุกๆวันของคนงานทุกคนในทุกที่ๆจัดตั้ง ผ่านทางการดำเนินการที่ใกล้ชิดและเต็มใจของคนเหล่านั้นที่อยู่ฝ่ายการจัดการ พวกมันจะผลที่ต่าง ประการแรก ในการผลิตผลิตผลที่มากขึ้นมากต่อคน และผลิตผลที่ดีกว่าและมีคุณภาพสูงกว่า และประการที่สองทำให้บริษัทจ่ายค่าจ้างได้สูงกว่าให้คนงานของเขา และประการที่สามทำให้บริษัทมีกำไรมากกว่า ส่วนแรกของหลักการนี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาวิทยาศาสตร์เพื่อแทนที่ความรู้ทั่วๆไป(rule of thumb)ของคนงาน ซึ่งหมายถึงความรู้ที่คนงานมีและซึ่งในหลายๆกรณีค่อนข้างจะตรงกับที่ได้มาโดยการจัดการ แต่เป็นสิ่งที่คนงานเก้าร้อยเก้าสิบเก้าคนในพันคนเก็บไว้ในหัวของเขา และเป็นสิ่งที่ไม่ได้บันทึกไว้โดยสมบูรณ์ถาวร
                มีการคัดค้านอย่างจริงจังในการใช้คำว่า “วิทยาศาสตร์” ในเรื่องที่เกี่ยวข้องนี้ ผมค่อนข้างแปลกใจที่คำคัดค้านส่วนใหญ่มาจากศาสตราจารย์ในประเทศนี้ พวกเขารังเกียจการใช้คำว่าวิทยาศาสตร์ในสิ่งเล็กๆน้อยๆเช่นเหตุการณ์ธรรมดาที่เกิดขึ้นทุกวันของชีวิต ผมคิดว่าคำตอบที่เหมาะสมที่ให้แก่การวิพากษ์วิจารณ์นี้คือการยกคำนิยามที่ได้ให้ไว้โดยศาสตราจารย์ผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับในฐานะนักวิทยาศาสตร์ในประเทศนี้-อธิการบดี McLaurin จาก IT Boston ซึ่งนิยามคำว่าวิทยาศาสตร์ว่าเป็น “ความรู้ใดๆที่ได้รับการจำแนกหรือรวบรวม” และแน่นอน มีการรวบรวมความรู้ดังที่ได้กล่าวก่อนหน้านี้ แต่อยู่ในภาวะที่ไม่ได้รับการจำแนกแยกแยะในความนึกคิดของคนงาน และนำมาปรับลดความรู้เป็นกฎหมาย กฎ และสูตร ซึ่งแสดงถึงการจำแนกและรวมความรู้ แม้อาจจะไม่พอต่อการยอมรับของบางคนที่จะเรียกมันว่าวิทยาศาสตร์
           หน้าที่กลุ่มที่สองซึ่งถูกรับไปทำโดยคนที่อยู่ฝ่ายการจัดการด้วยความเต็มใจภายใต้การจัดการวิทยาศาสตร์คือการเลือกสรรทางวิทยาศาสตร์และหลังจากนั้นเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของคนงาน มันกลายเป็นหน้าที่ของที่อยู่ฝ่ายการจัดการที่จะศึกษาลักษณะ ธรรมชาติ และสมรรถนะของคนงานแต่ละคนโดยมุ่งหาข้อจำกัดของเขาในทางหนึ่ง และที่สำคัญมากกว่าคือศักยภาพของเขาในการพัฒนาในอีกทางหนึ่ง และหลังจากนั้นอบรมและช่วย และสอนคนงานคนนี้อย่างตั้งใจและเป็นระบบ เมื่อเป็นไปได้ ให้โอกาสเขาก้าวหน้าซึ่งจะช่วยให้เขาทำงานในระดับสูงสุด และน่าสนใจที่สุดและเกิดประโยชน์(กำไร)สูงสุดซึ่งเหมาะกับความสามารถทางธรรมชาติของเขา ซึ่งเปิดให้เขาในบางบริษัทซึ่งเขาได้รับการจ้างทำงาน การเลือกสรรคนงานทางวิทยาศาสตร์และการพัฒนาของเขานี้ไม่ได้เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นเพียงแค่ครั้งเดียว มันใช้เวลาหลายปีและเป็นการศึกษาที่ต่อเนื่องในส่วนของการจัดการ
                หลักการที่สามของการจัดการวิทยาศาสตร์คือการนำเอาวิทยาศาสตร์และคนงานที่ถูกเลือกและฝึกอบรมทางวิทยาศาสตร์มารวมกัน ผมกล่าวว่า “นำมารวมกัน” ในเขิงแนะนำ เนื่องจากท่านอาจพัฒนาวิทยาศาสตร์ทั้งหมดได้ตามใจท่าน และท่านอาจเลือกและฝึกอบรมคนงานโดยทางวิทยาศาสตร์มากเท่าที่ท่านพอใจ แต่หากไม่มีคนที่นำเอาวิทยาศาสตร์และคนงานมารวมกัน งานที่ท่านลงแรงไปก็สูญเปล่า พวกเราทั้งหมดได้รับการสร้างขึ้นให้สามในสี่ครั้งเราจะทำงานตามวิธีที่เหมาะกับเราที่สุด ซึ่งหมายความว่า เราจะทำตามวิทยาศาสตร์หรือเราจะไม่ทำตาม; เราจะทำงานของเราตามกฎของวิทยาศาสตร์หรือทำตามวิธีเก่าๆของเราเอง อย่างที่เราเห็นเหมาะสมยกเว้นว่าจะมีคนอยู่ที่นั่นเพื่อดูว่าเราทำตรงตามหลักการวิทยาศาสตร์หรือเปล่า ดังนั้น ผมใช้คำว่า “นำเอาวิทยาศาสตร์และคนงานมารวมกัน”ในเชิงแนะนำ อย่างไรก็ตาม โชคร้ายมาที่คำว่า “นำเอา” มีเสียงที่ไม่เข้ากัน อาจจะฟังดูเหมือนบังคับ และ บางที เมื่อได้ยินครั้งแรกมันทำให้คนไม่นึกโยงไปถึงสิ่งที่เรามองว่าเป็นแนวโน้มสมัยใหม่ เวลาที่จะให้คำว่า “นำเอา” ด้วยความรู้สึกถึงการบังคับ เกี่ยวกับเรื่องส่วนใหญ่นั้นได้หมดไปแล้ว แต่ผมคิดว่าผมอาจจะใช้คำนี้ให้เบาลงในบางกรณีโดยกล่าวว่าเก้าในสิบของปัญหาของพวกเราผู้ซึ่งยุ่งอยู่กับการช่วยคนเปลี่ยนจากการจัดการแบบเก่าไปการจัดการแบบใหม่-ซึ่งคือการจัดการวิทยาศาสตร์- ว่าเก้าในสิบของปัญหาของพวกเราคือการ “นำ” คนเหล่านั้นที่อยู่ฝ่ายการจัดการให้ทำงานส่วนของเขาอย่างยุติธรรมและมีแค่หนึ่งในสิบของปัญหาของเราที่มาจาดผ่ายคนงาน เราพบการต่อต้านอย่างมากไม่แตกต่างกันนักในส่วนของคนที่อยู่ฝ่ายการจัดการในการทำหน้าที่ใหม่ของพวกเขาและโดยเปรียบเทียบแล้วมีการต่อต้านน้อยในส่วนของฝ่ายคนงานในการประสานงานเพื่อทำหน้าที่ใหม่ของพวกเขา ดังนั้นคำว่า “นำเอา” ประยุกต์ใช้ได้โดยการบีบบังคับได้กับคนที่อยู่ฝ่ายการจัดการมากกว่าคนที่อยู่ฝ่ายคนงาน                 หลักการที่สี่ของการจัดการวิทยาศาสตร์บางทีอาจเป็นสิ่งที่ยากที่สุดในหลักการทั้งสี่ของการจัดการวิทยาศาสตร์สำหรับคนทั่วไปที่จะเข้าใจ มันประกอบไปด้วยการแบ่งแยกที่เกือบเท่ากันของงานที่ทำอยู่จริงของการจัดตั้งระหว่างคนงานในด้านหนึ่ง และการจัดการในอีกด้าน ซึ่งหมายถึง งานที่อยู่ใต้การจัดการแบบเก่าในทางปฏิบัติแล้วคนงานเป็นคนทำทั้งหมด ภายใต้อันใหม่ มันถูกแบ่งเป็นสองส่วน และหนึ่งในนั้นถูกส่งไปให้คนที่อยู่ฝ่ายการจัดการ
การแบ่งงานใหม่นี้ การแบ่งปันงานใหม่ให้ฝ่ายการจัดการทำ นั้นใหญ่มากจนผมคิดว่า ท่านจะสามารถเข้าใจได้ดีกว่าในทางตัวเลขเมื่อผมบอกท่านว่า ยกตัวอย่างเช่น ในร้านค้าเครื่องจักรที่ทำธุรกิจที่ซับซ้อน-ผมไม่ได้หมายถึงบริษัทผลิตแต่หมายถึงบริษัทวิศวกรรม หมายถึง ร้านค้าเครื่องจักรซึ่งสร้างเครื่องจักรอันหลากหลายและไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการผลิตมัน- จะไม่มีคนหนึ่งคนที่อยู่ฝ่ายจัดการแต่คนงานสามคน หมายถึงว่า การแบ่งงานที่มากนี้-หนึ่งในสาม- ถูกนำออกจากมือของคนงานและส่งไปที่คนที่อยู่ฝ่ายจัดการ  และเนื่องจากการแบ่งงานจริงๆระหว่างทั้งสองฝ่ายมากกว่าส่วนอื่นใดที่ทำไห้ไม่เคยมีการสไตรค์เลยภายใต้การจัดการวิทยาศาสตร์ (จนกระทั่งฤดูร้อนที่ผ่านมา) ในร้านค้าเครื่องจักร ภายใต้การจัดการวิทยาศาสตร์ ไม่มีการกระทำใดหรืองานชั้นใดที่ทำเสร็จโดยคนงานในร้านที่ไม่ได้เริ่มหรือติดตามโดยการกระทำในส่วนของคนที่อยู่ในฝ่ายการจัดการ ทั้งวัน การกระทำของคนงานแต่ทุกๆคนเชื่อมโยงกับการกระทำที่สอดคล้องของการจัดการ ประการแรก คนงานทำบางอย่าง และหลังจากนั้นคนที่อยู่ฝ่ายการจัดการทำบางอย่าง จากนั้นคนงานทำบางอย่าง และภายใต้การประสานงานกันอย่างเป็นส่วนตัว ใกล้ชิดระหว่างสองฝ่าย ในทางปฏิบัติแล้วมันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีการทะเลาะกันรุนแรง
                แน่นอนว่าผมไม่อยากให้ท่านเข้าใจผมว่าไม่เคยมีการทะเลาะเบาะแว้งภายใต้การจัดการวิทยาศาสตร์ มีการทะเลาะบ้าง แต่เป็นในกรณียกเว้น ไม่ใช่กฎ และหลักฐานชัดว่าขณะที่คนงานเรียนรู้การทำงานในระบบใหม่ และขณะที่การจัดการเรียนรู้งานภายใต้ระบบใหม่นี้ ขณะที่ทั้งสองเรียนรู้ แต่ละฝ่ายในการประสานงานอย่างใกล้ชิดต่อกัน มีโอกาสมากมายที่จะเกิดการไม่ลงรอยและการทะเลาะและความเข้าใจผิด แต่หลังจากทั้งสองฝ่ายตระหนักว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะทำงานออกมาได้ตามอัตราความเร็วที่เหมาะสมและถูกต้องโดยปราศจากการประสานงานส่วนตัวและใกล้ชิด เมื่อทั้งสองฝ่ายตระหนักว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่แต่ละคนจะประสบความสำเร็จได้โดยปราศจากการประสานงานที่ใกล้ชิด เป็นพี่น้องกัน การไม่ลงรอยกัน การขัดแย้ง และการทะเลาะก็จะลดลงต่ำ ดังนั้น ผมคิดว่าการจัดการวิทยาศาสตร์สามารถถูกจัดเป็นการจัดการได้อย่างถูกต้องและแท้จริงที่ซึ่งความปรองดองเป็นกฎมากกว่าความขัดแย้ง
                มีตัวอย่างหนึ่งของการนำเอาหลักการจัดการวิทยาศาสตร์ไปใช้ซึ่งเราแต่ละคนคุ้นเคยและเราส่วนใหญ่คุ้นเคยตั้งแต่เราเป็นเด็กเล็กๆ ปละผมคิดว่าตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของการนำเอาการจัดการวิทยาศาสตร์ไปใช้ ผมพูดถึงการจัดการทีมอเมริกันเบสบอลเฟิร์สคลาส ในทีมเช่นนั้นท่านจะพบเกือบทุกส่วนของการจัดการวิทยาศาสตร์
                ท่านจะเห็นว่าวิทยาศาสตร์ของการกระทำเล็กๆน้อยๆที่ทำโดยนักเล่นทุกคนในสนามเบสบอลได้รับการพัฒนาขั้น ทุกๆส่วนของเกมเบสบอลเป็นเรื่อง การศึกษาคนหลายๆคนอย่างใกล้ชิด และท้ายที่สุด วิธีที่ดีที่สุดในการกระทำแต่ละการกระทำที่เกิดขึ้นในสนามเบสบอลได้รับการเห็นพ้องต้องกันและจัดตั้งอย่างเท่าเทียมถือเป็นมาตรฐานทั้งประเทศ นักเล่นไม่ได้แค่ถูกบอกถึงวิธีที่ดีที่สุดในท่าหรือการเล่นที่สำคัญ แต่พวกเขาได้รับการสอน มีครูฝึก ฝึกหัด เป็นหลายๆเดือน และผมคิดว่าทุกๆคนที่ได้ดูการเล่นแบบเฟิร์สคลาส หรือรู้เรื่องการจัดการทีมเบสบอลสมันใหม่ ตระหนักถึงความเป็นไปไม่ได้ที่จะชนะด้วยทีมที่มีนักเล่นรายบุคคลที่ดีที่สุดแต่ไม่เคยมาเจอกันยกเว้นว่าทุกๆคนในทีมจะทำตามสัญญาณหรือคำสั่งของโค้ชและเชื่อฟังเขาทันทีเมื่อเขาสั่ง ซึ่งหมายถึงว่า ปราศจากการแระสานงวานใกล้ชิดระหว่างสมาชิกในทีมและการจัดการ ซึ่งคือลักษณะของการจัดการวิทยาศาสตร์

(แปลเพื่ออ่านเป็นเอกสารประกอบการเรียน MPA 37 จุฬา ฯ และผู้ที่สนใจอ่านศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาติให้นำไปเผยแพร่ที่เว็บอื่นค่ะ)

Friday, June 29, 2012

ระบบราชการ โดย Max Weber


Max Weber
Literal translation to Thai by Janjira
(แปลต้นฉบับแบบคำต่อคำ อ่านแล้วต้องตีความเองค่ะ)


VIII. Bureaucracy
ระบบราชการ
I: Characteristics of Bureaucracy
ลักษณะของระบบราชการ

MODERN officialdom functions in the following specific manner:
ลักษณะข้าราชการสมัยใหม่ในรูปแบบเฉพาะต่อไปนี้:

I. There is the principle of fixed and official jurisdictional areas, which are generally ordered by rules, that is, by laws or administrative regulations.

มีหลักการเรื่องขอบเขตอำนาจตามกฎหมายที่ตายตัวและเป็นทางการ ซึ่งถูกสั่งตามกฎ ซึ่งได้แก่ โดยกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ทางการบริหาร

1. The regular activities required for the purposes of the bureaucratically governed structure are distributed in a fixed way as official duties.
กิจกรรมทั่วๆไปที่ต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมายของโครงสร้างที่ได้รับการปกครองแบบราชการ ได้มีการมอบหมายออกไปในวิธีที่ตายตัวถือเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่

2. The authority to give the commands required for the discharge of these duties is distributed in a stable way and is strictly delimited by rules concerning the coercive means, physical, sacerdotal, or otherwise, which may be placed at the disposal of officials.
อำนาจในการให้คำสั่งที่จำเป็นในการมอบหมายหน้าที่เหล่านี้ถูกมอบออกไปโดยวิธีที่ไม่เปลี่ยนแปลงและจำกัดอย่างเข้มงวดโดยกฎ ที่เกี่ยวกับวิธีบีบบังคับ ทางร่างกาย ทางความเชื่อ(ศาสนา) หรือมิฉะนั้นก็กำจัดเจ้าหน้าที่ออกไป

3. Methodical provision is made for the regular and continuous fulfillment of these duties and for the execution of the corresponding rights; only persons who have the generally regulated qualifications to serve are employed.
ข้อกำหนดซึ่งมีแบบแผนมีเพื่อทำให้หน้าที่เหล่านี้สำเร็จอย่างเป็นประจำและต่อเนื่อง และเพื่อบังคับใช้สิทธิที่คล้ายกันทั้งหลาย คนที่มีคุณสมบัติตามกฎทั่วไปที่จะบริการเท่านั้นที่จะได้รับการจ้างงาน

In public and lawful government these three elements constitute 'bureaucratic authority.' In private economic domination, they constitute bureaucratic 'management.' Bureaucracy, thus understood, is fully developed in political and ecclesiastical communities only in the modern state, and, in the private economy, only in the most advanced institutions of capitalism. Permanent and public office authority, with fixed jurisdiction, is not the historical rule but rather the exception. This is so even in large political structures such as those of the ancient Orient, the Germanic and Mongolian empires of conquest, or of many feudal structures of state. In all these cases, the ruler executes the most important measures through personal trustees, table-companions, or court-servants. Their commissions and authority are not precisely delimited and are temporarily called into being for each case.
ในรัฐบาลที่เป็นสาธารณะและมาอย่างถูกกฎหมายเท่านั้นที่ส่วนประกอบทั้งสามส่วนนี้จะก่อให้เกิด “อำนาจตามระบบราชการ” ในโลกของเศรษฐกิจเอกชน พวกเขาก่อตั้ง ”การจัดการ”ระบบราชการ เป็นที่เข้าใจกันว่า ระบบราชการได้รับการพัฒนาในประชาคมรัฐศาสตร์และศาสนาในรัฐสมัยใหม่เท่านั้น และในเศรษฐกิจเอกชน แค่ในหน่วยงานที่ก้าวหน้าที่สุดในระบบทุนนิยมเท่านั้น อำนาจตำแหน่งถาวรและสาธารณะ(ภาครัฐ)ที่มีขอบเขตอำนาจตายตัวไม่ใช่กฎทางประวัติศาสตร์แต่เป็นเพียงข้อยกเว้น สิ่งนี้เป็นเช่นนั้นแม้กับโครงสร้างการเมืองที่ใหญ่อย่างเช่นคนที่อยู่ในตะวันออกสมัยโบราณ อาณาจักรเยอรมันหรือมองโกล หรือในโครงสร้างของรัฐศักดินาหลายๆโครงสร้างนี้ ในกรณีเหล่านี้ผู้ปกครองบังคับใช้มาตรการที่สำคัญที่สุดผ่านทางผู้ดูแล สหายร่วมโต๊ะ หรือเจ้าหน้าที่ศาล งานมอบหมายและอำนาจของพวกเขาไม่ได้จำกัดไปซะทีเดียวและได้รับตำแหน่งเป็นกรณีๆไป

II. The principles of office hierarchy and of levels of graded authority mean a firmly ordered system of super- and subordination in which there is a supervision of the lower offices by the higher ones. Such a system offers the governed the possibility of appealing the decision of a lower office to its higher authority, in a definitely regulated manner. With the full development of the bureaucratic type, the office hierarchy is monocratically organized. The principle of hierarchical office authority is found in all bureaucratic structures: in state and large party organizations and private enterprises. It does not matter for the character of bureaucracy whether its authority is called 'private' or 'public.'
หลักการลำดับชั้นตำแหน่งและระดับของอำนาจตามการแบ่งระดับหมายถึงระบบที่เป็นระเบียบแบบแผนอย่างแน่นอนของการบังคับบัญชาและใต้บังคับบัญชาซึ่งมีการควบคุมดูแลตำแหน่งที่ตำกว่าจากตำแหน่งที่สูงกว่า ระบบเช่นนั้นทำให้เกิดการปกครองความเป็นไปได้ในการอุทธรณ์การตัดสินใจของตำแหน่งข้างล่างต่ออำนาจที่สูงกว่าของมัน ในวิธีที่ได้บัญญัติไว้ เนื่องจากการพัฒนารูปแบบระบบราชการลำดับขั้นตำแหน่งได้รับการจัดตั้งแบบเอกาธิปไตย หลักการเรื่องผู้อำนาจในตำแหน่งตามลำดับชั้นมีอยู่ในโครงสร้างระบบราชการทั้งหมด ในโครงสร้างของรัฐและศาสนาเช่นเดียวกันกับในองค์การใหญ่ๆทั้งหลายและในเอกชน มันไม่สำคัญสำหรับลักษณะของระบบราชการ ว่าเจาหน้าที่ของมันจะถูกเรียกว่า เอกชน หรือ ภาครัฐ

When the principle of jurisdictional 'competency' is fully carried through, hierarchical subordination--at least in public office--does not mean that the 'higher' authority is simply authorized to take over the business of the 'lower.' Indeed, the opposite is the rule. Once established and having fulfilled its task, an office tends to continue in existence and be held by another incumbent.
เมื่อได้บรรลุหลักการเรื่อง “ศักยภาพ” ตามขอบเขตอำนาจทั้งหมดแล้ว ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น-อย่างน้อยก็ในตำแหน่งภาครัฐ- ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้มีอำนาจสูงกว่าจะเข้าเอางานของผู้ที่ต่ำกว่ามาทำเอง ในความเป็นจริง กลับตรงกันข้าม เมื่อทำงานเสร็จสิ้นแล้ว ตำแหน่งนั้นมีแนวโน้มที่จะอยู่ต่อไปโดยให้อีกคนมาดำรงตำแหน่ง

III. The management of the modern office is based upon written documents ('the files'), which are preserved in their original or draught form. There is, therefore, a staff of subaltern officials and scribes of all sorts. The body of officials actively engaged in a 'public' office, along with the respective apparatus of material implements and the files, make up a 'bureau.' In private enterprise, 'the bureau' is often called 'the office.'
การจัดการตำแหน่งสมัยใหม่มีพื้นฐานอยู่บนเอกสารที่เขียน ('ไฟล์') :ซึ่งได้รับการเก็บรักษาเป็นต้นฉบับแลละแบบฟอร์ม ดังนั้นจึงต้องมีเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยและเสมียนจดบันทึกงานสารพัดอย่าง กลุ่มเจ้าหน้าที่ทำงานอย่างกระฉับกระเฉงในหน่วยงาน “ภาครัฐ” พร้อมด้วยเครื่องมือที่เป็นอุปกรณ์การปฏิบัติงานและไฟล์ ก่อให้เป็น “สำนัก” ในภาคเอกชน เรียก “สำนัก”ว่า “สำนักงาน

In principle, the modern organization of the civil service separates the bureau from the private domicile of the official, and, in general, bureaucracy segregates official activity as something distinct from the sphere of private life. Public monies and equipment are divorced from the private property of the official. This condition is everywhere the product of a long development. Nowadays, it is found in public as well as in private enterprises; in the latter, the principle extends even to the leading entrepreneur. In principle, the executive office is separated from the household, business from private correspondence, and business assets from private fortunes. The more consistently the modern type of business management has been carried through the more are these separations the case. The beginnings of this process are to be found as early as the Middle Ages.
ในหลักการ องค์การการบริการสาธารณะแยกสำนักจากถิ่นฐานเอกชนของข้าราชการ และ โดยทั่วไป ระบบราชการแบ่งแยกกิจกรรมทางราชการว่าเป็นสิ่งที่แยกออกมาจากขอบเขตของชีวิตส่วนตัว การแต่งงานและอุปกรณ์สาธารณะได้อย่าจากทรัพย์สินส่วนตัวของราชการ เงื่อนไขนี้เป็นผลมาจากการพัฒนาที่ยาวนานที่อยู่ทุกที่ ทุกวันนี้มันถูกพบในภาคสาธารณะเช่นเดียวกันกับเอกชน สิ่งที่สอง หลักการนั้นได้ขยายไปถึงนายทุนเอกชนด้วย ในหลักการ ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงแยกจากครัวเรือน ธุรกิจจากสายสัมพันธ์ส่วนตัว และสินทรัพย์ธุรกิจจากความรุ่งเรืองส่วนตัว ยิ่งรูปแบบการจัดการธุรกิจสมัยใหม่สำเร็จต่อเนื่องมากเท่าไหร่ยิ่งเกิดการแบ่งแยกมากเท่านั้น การเริ่มต้นกระบวนการนี้พบได้ตั้งแต่สมัยยุคกลาง

It is the peculiarity of the modern entrepreneur that he conducts himself as the 'first official' of his enterprise, in the very same way in which the ruler of a specifically modern bureaucratic state spoke of himself as 'the first servant' of the state. The idea that the bureau activities of the state are intrinsically different in character from the management of private economic offices is a continental European notion and, by way of contrast, is totally foreign to the American way.
มันเป็นลักษณะเฉพาะของนายทุนสมัยใหม่ที่เขาจะกำกับให้ตัวเขาเองเป็น “เจ้าหน้าที่คนแรก” ของบริษัทเขา ในกรณีเช่นเดียวกันกับผู้ปกครองของรัฐระบบราชการสมัยใหม่ที่จะกล่าวว่าตัวเขาเองเป็น “ผู้รับใช้คนแรก” ของรัฐ แนวความคิดที่ว่ากิจกรรมของสำนัก(องค์การทางราชการ)ของรัฐโดยเนื้อแท้มีลักษณะแตกต่างจากการจัดการในสำนักงานเศรษฐกิจเอกชนนั้นเป็นแนวความคิดของชาวยุโรป ในทางตรงกันข้าม มันเป็นสิ่งที่แปลกสำหรับวิถีทางชาวอเมริกัน

IV. Office management, at least all specialized office management-- and such management is distinctly modern--usually presupposes thorough and expert training. This increasingly holds for the modern executive and employee of private enterprises, in the same manner as it holds for the state official.
การจัดการตำแหน่งหน้าที่ อย่างน้อยการจัดการตำแหน่งหน้าที่เฉพาะทางทั้งหมด –และการจัดการนั้นใหม่เป็นพิเศษ- ปกติแล้วมักถูกคาดว่าต้องมีการอบรมเพื่อให้เชี่ยวชาญและละเอียดรอบด้าน มันมีไว้เพื่อผู้บริหารและพนักงานภาคธุรกิจเอกชน เช่นเดียวกันกับสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ

V. When the office is fully developed, official activity demands the full working capacity of the official, irrespective of the fact that his obligatory time in the bureau may be firmly delimited. In the normal case, this is only the product of a long development, in the public as well as in the private office. Formerly, in all cases, the normal state of affairs was reversed: official business was discharged as a secondary activity.
เมื่อตำแหน่งได้รับการพัฒนาเต็มที่แล้ว กิจกรรมทางราชการเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ทำงานเต็มสมรรถภาพ แม้ว่าในความเป็นจริงเวลาการทำภารกิจของเขาในสำนักอาจจะจำกัด โดยปกติ สิ่งนี้เป็นผลมาจากการพัฒนาที่ยาวนาน ในภาครัฐเช่นเดียวกันกับตำแหน่งเอกชน เมื่อก่อน ไม่ว่าในกรณีใดๆ สภาวะการทำงานนั้นต่างกัน งานราชการได้รับการนำไปปฏิบัติโดยถือเป็นกิจกรรมรอง(อันดับสอง)

VI. The management of the office follows general rules, which are more or less stable, more or less exhaustive, and which can be learned. Knowledge of these rules represents a special technical learning which the officials possess. It involves jurisprudence, or administrative or business management.
การจัดการตำแหน่งต้องทำตามกฎทั่วไป ซึ่งอาจจะมันคงหรือไม่ก็ได้ อาจจะถี่ถ้วนมากหรือน้อยกว่า และสามารถเรียนรู้ได้ ความรู้เกี่ยวกับกฎเหล่านี้แสดงให้เห็นการเรียนรู้เทคนิคพิเศษซึ่งเจ้าหน้าที่มี มันเกี่ยวข้องกับการจัดการทางนิติศาสตร์ หรือ ทางการบริหาร หรือทางธุรกิจ

The reduction of modern office management to rules is deeply embedded in its very nature. The theory of modern public administration, for instance, assumes that the authority to order certain matters by decree--which has been legally granted to public authorities--does not entitle the bureau to regulate the matter by commands given for each case, but only to regulate the matter abstractly. This stands in extreme contrast to the regulation of all relationships through individual privileges and bestowals of favor, which is absolutely dominant in patrimonialism, at least in so far as such relationships are not fixed by sacred tradition.
การลดลงของการจัดการตำแหน่งสมัยใหม่เพื่อกฎนั้นฝังอยู่ในธรรมชาติของมัน ยกตัวอย่างเช่น ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่มองว่าอำนาจในการสั่งเรื่องบางเรื่องโดยกฎหมาย-ซึ่งให้อำนาจโดยชอบทางกฎหมายต่อเจ้าหน้าที่รัฐ-ไม่ได้ให้สิทธิแก่สำนัก(หน่วยราชการ)ที่จะออกกฎบังคับเรื่องนั้นตามที่คำสั่งนั้นให้มาในแต่ละกรณี เพียงแต่ให้ออกกฎบังคับเรื่องนั้นในเชิงทฤษฎี(นามธรรม)เท่านั้น ความเชื่อนี้ขัดแย้งกับการวางกฎเกณฑ์ของความสัมพันธ์ทั้งหมดผ่านทางอภิสิทธิ์และการให้ความเกื้อกูลส่วนตัวซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในความเชื่อเรื่องมรดกตกทอด อย่างน้อยก็ครอบคลุมความสัมพันธ์ที่ไม่ได้จำกัดโดยประเพณีศักดิ์สิทธิ์

II. The Position of the Official
ตำแหน่งของเจ้าหน้าที่(ข้าราชการ)

All this results in the following for the internal and external position of the official:
ทั้งหมดนี้มีผลตามตำแหน่งภายในและภายนอกของเจ้าหน้าที่ต่อไปนี้:

I. Office holding is a 'vocation.' This is shown, first, in the requirement of a firmly prescribed course of training, which demands the entire capacity for work for a long period of time, and in the generally prescribed and special examinations which are prerequisites of employment. Furthermore, the position of the official is in the nature of a duty. This determines the internal structure of his relations, in the following manner: Legally and actually, office holding is not considered a source to be exploited for rents or emoluments, as was normally the case during the Middle Ages and frequently up to the threshold of recent times. Nor is office holding considered a usual exchange of services for equivalents, as is the case with free labor contracts. Entrance into an office, including one in the private economy, is considered an acceptance of a specific obligation of faithful management in return for a secure existence. It is decisive for the specific nature of modern loyalty to an office that, in the pure type, it does not establish a relationship to a person, like the vassal's or disciple's faith in feudal or in patrimonial relations of authority. Modern loyalty is devoted to impersonal and functional purposes. Behind the functional purposes, of course, 'ideas of culture-values' usually stand. These are ersatz for the earthly or supra-mundane personal master: ideas such as 'state,' 'church,' 'community,' 'party,' or 'enterprise' are thought of as being realized in a community; they provide an ideological halo for the master.
I. การดำรงตำแหน่งเป็น “วิชาชีพ” ประการแรก เห็นได้ชัดจาก ข้อกำหนดที่ได้รับการบัญญัติไว้ของการอบรม ซึ่งประสงค์ให้ใช้ความสามารถทั้งหมดในการทำงานในระยะเวลานาน และการสอบพิเศษและกำหนดไว้โดยทั่วไปซึ่งต้องปฏิบัติก่อนการจ้างงาน มากกว่านั้น ตำแหน่งของเจ้าหน้าที่เป็นไปตามธรรมชาติของหน้าที่ สิ่งนี้กำหนดโครงสร้างภายในของความสัมพันธ์ของเขา ตามลักษณะต่อไปนี้:  ตามกฎหมายและตามการปฏิบัติแล้วการดำรงตำแหน่งไม่ได้ถูกมองว่าเป็นแหล่งที่จะหาประโยชน์ค่าเช่าหรือค่าตอบแทน เหมือนอย่างที่เป็นในช่วงยุคกลางและบางครั้งก็เป็นอยู่ในช่วงแรกๆของยุคนี้ และการดำรงตำแหน่งก็ไม่สามารถคิดได้ว่าเป็นการแลกเปลี่ยนบริการเพื่อสิ่งที่มีค่าเท่าเทียม อย่างในกรณีการว่าจ้างแรงงานอิสระ การเข้าสู่ตำแหน่ง รวมถึงในเศรษฐกิจเอกชน ถูกมองว่าเป็นการยอมรับภาระหน้าที่เฉพาะของการจัดการที่ซื่อสัตย์เพื่อความเป็นอยู่ที่มั่นคง มันเป็นความแน่วแน่ในธรรมชาติเฉพาะของการสัตย์ซื่อสมัยใหม่ต่อตำแหน่งซึ่ง ตามรูปแบบอันบริสุทธิ์แล้ว มันไม่มีการสร้างความสัมพันธ์ต่อบุคคล เช่นศรัทธาของขุนนางหรือผู้ปฏิบัติตามในระบบศักดินาหรือในความสัมพันธ์ในเชิงการตกทอดอำนาจ ความจงรักภักดีสมัยใหม่นั้นมอบให้แก่จุดประสงค์ของการทำงานและไม่เป็นส่วนตัว เบื้องหลังจุดประสงค์การทำงาน แน่นอนว่ามี “แนวความคิดเรื่องค่านิยมวัฒนธรรม”อยู่  สิ่งเหล่านี้เป็นของเลียนแบบของเจ้านายทางโลกหรือเจ้านายเหนือธรรมชาติของโลก แนวความคิดเรื่องเช่น “รัฐ” “ศาสนจักร” “ชุมชน” “พรรค” หรือ”   ”บริษัท” เป็นสิ่งที่ถูกคิดว่าเป็นเป็นสิ่งที่ถูกตระหนักในชุมชน พวกมันทำให้เกิดบารมีทางมโนคติให้แก่นาย

The political official -- at least in the fully developed modern state -- is not considered the personal servant of a ruler: Today, the bishop, the priest, and the preacher are in fact no longer, as in early Christian times, holders of purely personal charisma. The supra-mundane and sacred values which they offer are given to everybody who seems to be worthy of them and who asks for them. In former times, such leaders acted upon the personal command of their master; in principle, they were responsible only to him. Nowadays, in spite of the partial survival of the old theory, such religious leaders are officials in the service of a functional purpose, which in the present-day 'church' has become routinized and, in turn, ideologically hallowed.
ตำแหน่งทางการเมือง—อย่างน้อยในรัฐสมัยใหม่ที่ได้รับการพัฒนาเต็มที่แล้ว—ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นผู้รับใช้ส่วนตัวของผู้ปกครอง: ปัจจุบัน อธิการ หรือพระนักบวช และผู้เผยแผ่ศาสนาไม่ได้เป็นผู้มีบารมีส่วนตัวที่บริสุทธิ์อย่างงเช่นในสมัยคริสต์ศาสนาโบราณอีกต่อไป ความเหนือธรรมดาโลกและค่านิยมอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งพวกเขามีนั้นก็มีกับทุกคนที่ดูเหมือนจะมีค่าควรต่อสิ่งเหล่านั้นหรือผู้ที่เรียกร้องสิ่งเหล่านั้น ในสมัยก่อน ผู้นำเหล่านั้นถือปฏิบัติคำสั่งส่วนตัวจากนายพวกเขา ในทางหลักการ พวกเขารับผิดชอบต่อนายเท่านั้น มุกวันนี้ แม้จะมีทฤษฎีแบบเก่าเหลืออยู่บ้างบางส่วน ผู้นำศาสนาเหล่านั้นเป็นเจ้าหน้าที่ในการรับใช้เพื่อจุดประสงค์การทำงาน ซึ่ง ศาสนจักร ในปัจจุบันกลับเป็นสิ่งที่ถูกทำเป็นกิจวัตรและกลับทำให้ศักดิ์สิทธิ์ในเชิงมโนคติ

II. The personal position of the official is patterned in the following way:
ตำแหน่งส่วนตัวของเจ้าหน้าที่(ข้าราชการ)มีรูปแบบต่อไปนี้:
     
1. Whether he is in a private office or a public bureau, the modern official always strives and usually enjoys a distinct social esteem as compared with the governed. His social position is guaranteed by the prescriptive rules of rank order and, for the political official, by special definitions of the criminal code against 'insults of officials' and 'contempt' of state and church authorities.
1. ไม่ว่าเขาจะอยู่ในสำนักงานเอกชนหรือภาครัฐ เจ้าหน้าที่สมัยใหม่มุ่งมั่นเสมอเพื่อให้ได้และมีความสุขที่จะมีความนับถือทางสังคมที่โดดเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับที่ถูกปกครอง ตำแหน่งทางสังคมของพวกเขาได้รับการการันตีจากกฎที่บัญญัติไว้เรื่องระดับตำแหน่ง และโดยนิยามพิเศษของประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับ “การดูหมิ่นเจ้าพนักงาน”และ”การดูหมิ่น” เจ้าหน้าที่รัฐและศาสนจักร สำหรับเจ้าหน้าที่การเมือง
     
The actual social position of the official is normally highest, where, as in old civilized countries, the following conditions prevail: a strong demand for administration by trained experts; a strong and stable social differentiation, where the official predominantly derives from socially and economically privileged strata because of the social distribution of power; or where the costliness of the required training and status conventions are binding upon him. The possession of educational certificates--to be discussed elsewhere [2] -- are usually linked with qualification for office. Naturally, such certificates or patents enhance the 'status element' in the social position of the official. For the rest this status factor in individual cases is explicitly and impassively acknowledged; for example, in the prescription that the acceptance or rejection of an aspirant to an official career depends upon the consent ('election') of the members of the official body. This is the case in the German army with the officer corps. Similar phenomena, which promote this guild-like closure of officialdom, are typically found in patrimonial /that is, hereditary/ and, particularly, in prebendal /that is, life-long assignment to officials of rent payments deriving from material goods or land/rent, in compensation for the fulfillment of real or fictitious duties of office/ officialdoms of the past. The desire to resurrect such phenomena in changed forms is by no means infrequent among modern bureaucrats: For instance, they have played a role among the demands of the quite proletarian and expert officials (the tretyj element) during the Russian revolution.
ตำแหน่งทางสังคมที่แท้จริงของเจ้าหน้าที่โดยปกติแล้วจะสูงสุด ในประเทศอารยธรรมเก่าแก่ตามเงื่อนไขต่อไปนี้: มีความต้องการเป็นอย่างมากสำหรับการบริหารโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกหัด ความแตกต่างทางสังคมที่มั่นคงแข็งแรง ที่ๆเจ้าหน้าที่ได้มาโดยมีอิทธิพลเหนือกว่าจากชนชั้นอภิสิทธิ์ทางเศรษฐกิจและสังคมเนื่องจากการกระจายอำนาจทางสังคม หรือที่ๆค่าใช้จ่ายที่สูงในการได้รับการฝึกหัดและขนบประเพณีเรื่องสถานะนั้นผูกพันอยู่กับเขา การมีประกาศนียบัตรทางการศึกษา—ซึ่งจะกล่าวถึงในส่วนอื่น—เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับคุณสมบัติสำหรับตำแหน่ง โดยธรรมชาติแล้ว ประกาศนียบัตรหรือสิทธิบัตรช่วยเพิ่ม “องค์ประกอบทางสถานะ”ในตำแหน่งทางสังคมของเจ้าหน้าที่ ส่วนที่เหลือปัจจัยทางสถานะนี้ในแต่ละกรณีเป็นที่ยอมรับอย่างโจ่งแจ้งและอย่างไม่รู้สึกอะไรมากมาย เช่น ในการบัญญัติเรื่องการรับและปฏิเสธคนที่ต้องการอาชีพราชการโดยขึ้นอยู่กับการยินยอม (การเลือก) ของสมาชิกของกลุ่มราชการ นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับกองกำลังเจ้าหน้าที่ในกองทัพเยอรมัน ปรากฏการณ์คล้ายๆกัน ซึ่งสนับสนุนการยุติสมาคมอาชีพของช้าราชการก็ถูกพบในการสืบทอดอำนาจ โดยเฉพาะการยืดหยุ่นล่วงหน้า ซึ่งคือ การที่งานมอบหมายตลอดชีพของเจ้าหน้าที่ได้รับการจ่ายค่าเช่าเกิดจากสินค้าวัตถุหรือที่ดิน/ค่าเช่า เพื่อชดเชยการทำหน้าที่ๆแท้จริงหรือหน้าที่ลวงให้สำเร็จของตำแหน่ง/ข้าราชการในอดีต ความปรารถนาที่จะนำเอาปรากฏการณ์เช่นนั้นกลับคืนมาใหม่ในรูปแบบที่เปลี่ยนไปก็ไม่ใช่ว่าจะไม่ค่อยจะเกิดขึ้นบ่อยนักในบรรดาข้าราชการสมัยใหม่ ยกตัวอย่างเช่น พวกมันได้แสดงบทบาทในการเรียกร้องของชนชั้นกรรมาชีพและเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ระหว่างการปฏิวัติรัสเซีย

Usually the social esteem of the officials as such is especially low where the demand for expert administration and the dominance of status conventions are weak. This is especially the case in the United States; it is often the case in new settlements by virtue of their wide fields for profit-making and the great instability of their social stratification.
โดยปกติแล้วความนับถือทางสังคมของเจ้าหน้าที่เช่นนั้นจะต่ำเป็นพิเศษในที่ๆความต้องการสำหรับการบริหารที่เชี่ยวชาญและการการมีอิทธิพลของขนบประเพณีเรื่องสถานะนั้นต่ำ โดยเฉพาะในกรณีของสหรัฐ บ่อยครั้งในกรณีการตั้งรกรากใหม่โดยอานิสงค์ของสายงานอันกว้างขวางของพวกเขาเพื่อทำกำไรและความไม่มั่นคงของการแบ่งชนชั้น
    
2. The pure type of bureaucratic official is appointed by a superior authority. An official elected by the governed is not a purely bureaucratic figure. Of course, the formal existence of an election does not by itself mean that no appointment hides behind the election -- in the state, especially, appointment by party chiefs. Whether or not this is the case does not depend upon legal statutes but upon the way in which the party mechanism functions. Once firmly organized, the parties can turn a formally free election into the mere acclamation of a candidate designated by the party chief. As a rule, however, a formally free election is turned into a fight, conducted according to definite rules, for votes in favor of one of two designated candidates.
2. เจ้าหน้าที่ข้าราชการแท้ๆนั้นได้รับการแต่งตั้งจากอำนาจที่สูงกว่า เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการคัดสรรจากผู้ที่ถูกปกครองอาจจะไม่ใช่บุคคลที่เป็นข้าราชการโดยแท้ แน่นอนว่า การเลือกที่เป็นทางการในตัวของมันเองไม่ได้หมายความว่าไม่มีการแต่งตั้งอยู่เบื้องหลังการเลือกตั้ง---ในรัฐนั้นๆ โดยเฉพาะการแต่งตั้งโดยหัวหน้าพรรค ไม่ว่าจะเป็นในกรณีนี้หรือไม่ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวบทกฎหมายแต่ขึ้นอยู่กับวิธีที่กลไกของพรรคทำงาน เมื่อได้รับการจัดตั้งแล้ว พรรคสามารถเปลี่ยนการเลือกตั้งที่เป็นอิสระจากทางการเป็นเพียงการสนับสนุนผู้สมัครที่ได้รับการวางไว้โดยหัวหน้าพรรค อย่างไรก็ตาม ตามกฎแล้ว การเลือกตั้งที่เป็นอิสระจากทางการเปลี่ยนเป็นการต่อสู้ภายใต้กฎ เพื่อออกเสียงสนับสนุนตัวแทนคนหนึ่งหรือสองคนที่ได้รับการคัดสรรไว้แล้วนั่นเอง
    
 In all circumstances, the designation of officials by means of an election among the governed modifies the strictness of hierarchical subordination. In principle, an official who is so elected has an autonomous position opposite the superordinate official. The elected official does not derive his position 'from above' but 'from below,' or at least not from a superior authority of the official hierarchy but from powerful party men ('bosses'), who also determine his further career. The career of the elected official is not, or at least not primarily, dependent upon his chief in the administration. The official who is not elected but appointed by a chief normally functions more exactly, from a technical point of view, because, all other circumstances being equal, it is more likely that purely functional points of consideration and qualities will determine his selection and career. As laymen, the governed can become acquainted with the extent to which a candidate is expertly qualified for office only in terms of experience, and hence only after his service. Moreover, in every sort of selection of officials by election, parties quite naturally give decisive weight not to expert considerations but to the services a follower renders to the party boss. This holds for all kinds of procurement of officials by elections, for the designation of formally free, elected officials by party bosses when they determine the slate of candidates, or the free appointment by a chief who has himself been elected. The contrast, however, is relative: substantially similar conditions hold where legitimate monarchs and their subordinates appoint officials, except that the influence of the followings are then less controllable.
ไม่ว่าภาวการณ์จะเป็นเช่นไร การเลือกสรรข้าราชการโดยการเลือกตั้งท่ามกลางผู้ที่ถูกปกครองก็เปลี่ยนแปลงความเข้มงวดของการอยู่ใต้บังคับบัญชาในระบบลำดับชั้น ในหลักการ ข้าราชการผู้ที่ได้รับเลือกเช่นนั้นมีตำแหน่งซึ่งเป็นอิสระ(ปกครองตนเอง)ตรงกันข้ามกับข้าราชการผู้บังคับบัญชา ข้าราชการที่ได้รับการเลือกไม่ได้มีตำแหน่งจากช้างบนแต่จากข้างล่างของลำดับชั้นทางราชการแต่จากคนที่อยู่ในพรรคที่มีอำนาจ (เจ้านาย) ผู้ซึ่งจะกำหนดอาชีพในอนาคตของเขาด้วย อาชีพของข้าราชการที่ได้รับการเลือกตั้งมาไม่ได้ขึ้นอยู่กับหัวหน้าฝ่ายบริหารของเขา ข้าราชการที่ไม่ได้รับการเลือกตั้งแต่ได้รับการแต่งตั้งโดยหัวหน้าโดยปกติทำงานในเชิงเทคนิค เนื่องจาก หากเงื่อนไขอื่นๆไม่ต่างกัน มีแนวโน้มว่าการพิจารณาโดยดูการทำงานและคุณสมบัติจะเป็นสิ่งกำหนดการเลือกสรรและอาชีพของเขา ในฐานะสามัญชน ผู้ที่ถูกปกครองสามารถรับรู้ว่าผู้สมัครจะมีคุณสมบัติความเชี่ยวชาญเพียงพอต่อตำแหน่งแค่ไหนแค่ในด้านประสบการณ์เท่านั้นและหลังจากที่เขาจบการทำหน้าที่ของเขาเท่านั้น มากกว่านั้น ในการคัดสรรข้าราชการทุกชนิดเพื่อการเลือกตั้ง พรรคไม่ได้ให้น้ำหนักการตัดสินใจไปที่การพิจารณาเรื่องความเชี่ยวชาญแต่เป็นการรับใช้ที่ผู้ติดตามท่านนั้นจะมอบให้กับเจ้านายในพรรค นี่ครอบคลุมถึงการจัดหาข้าราชการโดยการเลือกตั้งทุกชนิด สำหรับการเลือกสรรข้าราชการที่ได้รับการเลือกตั้งที่เป็นอิสระจาการเป็นทางการโดยหัวหน้าพรรคเมื่อเขาพิจารณารายชื่อผู้เข้าสมัคร หรือการแต่งตั้งอย่างเป็นอิสระจากผู้นำที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างนั้นก็เกี่ยวข้องกัน: มีเงื่อนไขสำคัญที่คล้ายกันเมื่อกษัตริย์และผู้ใต้บังคับบัญชาแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ยกเว้นว่าอิทธิพลต่อไปนี้สามารถควบคุมได้น้อยลง
     
Where the demand for administration by trained experts is considerable, and the party followings have to recognize an intellectually developed, educated, and freely moving 'public opinion,' the use of unqualified officials falls back upon the party in power at the next election. Naturally, this is more likely to happen when the officials are appointed by the chief. The demand for a trained administration now exists in the United States, but in the large cities, where immigrant votes are 'corralled,' there is, of course, no educated public opinion. Therefore, popular elections of the administrative chief and also of his subordinate officials usually endanger the expert qualification of the official as well as the precise functioning of the bureaucratic mechanism. It also weakens the dependence of the officials upon the hierarchy. This holds at least for the large administrative bodies that are difficult to supervise. The superior qualification and integrity of federal judges, appointed by the President, as over against elected judges in the United States is well known, although both types of officials have been selected primarily in terms of party considerations. The great changes in American metropolitan administrations demanded by reformers have proceeded essentially from elected mayors working with an apparatus of officials who were appointed by them. These reforms have thus come about in a 'Caesarist' fashion. Viewed technically, as an organized form of authority, the efficiency of 'Caesarism,' which often grows out of democracy, rests in general upon the position of the 'Caesar' as a free trustee of the masses (of the army or of the citizenry), who is unfettered by tradition. The 'Caesar' is thus the unrestrained master of a body of highly qualified military officers and officials whom he selects freely and personally without regard to tradition or to any other considerations. This 'rule of the personal genius,' however, stands in contradiction to the formally 'democratic' principle of a universally elected officialdom.
ในที่ๆมีความต้องการการบริหารโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกหัดนั้นสำคัญ และพรรคต่อไปนี้รู้ถึงความสำคัญของ “ความคิดเห็นสาธารณะ”ที่เป็นอิสระ อย่างมีการศึกษา และได้รับการพัฒนาทางด้านปัญญา การใช้เจ้าหน้าที่ๆขาดคุณสมบัติตกเป็นภาระของพรรคที่จะเข้ามามีอำนาจในการเลือกตั้งหน้า โดยธรรมชาติแล้ว สิ่งนี้น่าจะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับการแต่งตั้งโดยหัวหน้า มีความต้องการฝ่ายบริหารที่ได้รับการฝึกหัดในสหรัฐ แต่เป็นในเมองใหญ่ ที่ๆเสียงลงคะแนนของผู้อพยพนั้น”ถูกล้อมคอก” เป็นที่แน่นอนว่าไม่มีความคิดเห็นสาธารณะอย่างมีการศึกษา ดังนั้น การเลือกตั้งหัวหน้าฝ่ายบริหารของประชาชนและเจ้าหน้าที่ใต้บังคับบัญชาของเขาโดยปกติแล้วเป็นการทำร้ายคุณสมบัติเรื่องความเชี่ยวชาญของข้าราชการเช่นเดียวกันกับการทำงานอย่างแม่นยำของกลไกระบบราชการ มันยังทำให้การพึ่งพาระบบลำดับชั้นของข้าราชการอ่อนแอลง สิ่งนี้เกิดขึ้นอย่างน้อยในคณะบริหารที่ใหญ่ซึ่งยากต่อการดูแล คุณสมบัติที่สูงและคุณธรรมของผู้พิพากษารัฐบาลกลาง ที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ที่ขัดแย้งกับผู้พิพากษาที่ได้รับการเลือกตั้งในสหรัฐเป็นสิ่งที่ทราบกันดี แม้ว่าข้าราชการทั้งสองประเภทได้รับหารเลือกโดยมีพื้นฐานอยู่บนเงื่อนไขการพิจารณาของพรรค การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในการบริหารเมืองหลวงอเมริกาโดยนักปฏิรูปได้ก้าวหน้าอย่างยิ่งยวดจากนายกเทศมนตรีที่ได้รับการเลือกตั้งทำงานกับข้าราชการที่เป็นเครื่องมือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากพวกเขา การปฏิรูปนี้ออกมาในรูปแบบ “ซีซาร์” ถูกมองโดยทางเทคนิคว่าเป็นรูปแบบที่จัดตั้งของอำนาจหน้าที่ ประสิทธิภาพของ “การปกครองแบบซีซาร์” ซึ่งเกิดมาจากประชาธิปไตย นั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งของ “ซีซาร์” ในฐานะผู้ดูแลฝูงชน (ของกองทัพหรือของประชาชน) ผู้ซึ่งเป็นอิสระจากประเพณี ดังนั้น “ซีซาร์” จึงเป็นเจ้านายของกลุ่มข้าราชการทหารที่มีคุณสมบัติสูงและข้าราชการที่เขาเลือกได้อย่างอิสระและตามใจโดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องประเพณีหรือการพิจารณาสิ่งอื่นๆ อย่างไรก็ตาม“กฎอัจฉริยะส่วนบุคคล”นี้ ตรงกันข้ามกับหลักประชาธิปไตยในเรื่องข้าราชการที่ได้รับการเลือกตั้งโดยปกติทั่วไป
     
3. Normally, the position of the official is held for life, at least in public bureaucracies; and this is increasingly the case for all similar structures. As a factual rule, tenure for life is presupposed, even where the giving of notice or periodic reappointment occurs. In contrast to the worker in a private enterprise, the official normally holds tenure. Legal or actual life-tenure, however, is not recognized as the official's right to the possession of office, as was the case with many structures of authority in the past. Where legal guarantees against arbitrary dismissal or transfer are developed, they merely serve to guarantee a strictly objective discharge of specific office duties free from all personal considerations. In Germany, this is the case for all juridical and, increasingly, for all administrative officials.
3. โดยปกติแล้วการดำรงตำแหน่งของข้าราชการนั้นเป็นตลอดชีวิต อย่างน้อยในระบบราชการภาครัฐ และเป็นอย่างนี้เพิ่มมากขึ้นในกรณีที่มีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน ตามกฎที่แท้จริงนั้น การดำรงตำแหน่งตลอดชีวิตเป็นสิ่งที่เข้าใจกันว่าเป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว แม้ในที่ๆมีการให้หนังสือแจ้งหรือการแต่งตั้งตามระยะเวลาเกิดขึ้น แตกต่างจากคนงานในภาคธุรกิจข้าราชการนั้นดำรงตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม การดำรงตำแหน่งตามกฎหมายหรือตามชีวิตจริงไม่ได้ให้สิทธิ์แก่ข้าราชการที่จะเป็นเจ้าของตำแหน่งนั้น เช่นในกรณีของโครงสร้างอำนาจในสมัยก่อน เมื่อมีการประกันทางกฎหมายไม่ให้มีการไล่ออกหรือย้ายโดยพลการได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อประกันการไล่ออกอย่างมีจุดมุ่งหมายของหน้าที่ตำแหน่งเฉพาะใดๆนั้นทำโดยปราศจากเรื่องส่วนตัว ในเยอรมัน เป็นเช่นนี้ในกรณีข้าราชการฝ่ายบริหารและข้าราชการศาล
    
Within the bureaucracy, therefore, the measure of 'independence,' legally guaranteed by tenure, is not always a source of increased status for the official whose position is thus secured. Indeed, often the reverse holds, especially in old cultures and communities that are highly differentiated. In such communities, the stricter the subordination under the arbitrary rule of the master, the more it guarantees the maintenance of the conventional seigniorial style of living for the official. Because of the very absence of these legal guarantees of tenure, the conventional esteem for the official may rise in the same way as, during the Middle Ages, the esteem of the nobility of office [3] rose at the expense of esteem for the freemen, and as the king's judge surpassed that of the people's judge. In Germany, the military officer or the administrative official can be removed from office at any time, or at least far more readily than the 'independent judge,' who never pays with loss of his office for even the grossest offense against the 'code of honor' or against social conventions of the salon. For this very reason, if other things are equal, in the eyes of the master stratum the judge is considered less qualified for social intercourse than are officers and administrative officials, whose greater dependence on the master is a greater guarantee of their conformity with status conventions. Of course, the average official strives for a civil-service law, which would materially secure his old age and provide increased guarantees against his arbitrary removal from office. This striving, however, has its limits. A very strong development of the 'right to the office' naturally makes it more difficult to staff them with regard to technical efficiency, for such a development decreases the career opportunities of ambitious candidates for office. This makes for the fact that officials, on the whole, do not feel their dependency upon those at the top. This lack of a feeling of dependency, however, rests primarily upon the inclination to depend upon one's equals rather than upon the socially inferior and governed strata. The present conservative movement among the Badenia clergy, occasioned by the anxiety of a presumably threatening separation of church and state, has been expressly determined by the desire not to be turned 'from a master into a servant of the parish.' [4]
ดังนั้น ภายในระบบราชการ การวัด “ความเป็นอิสระ” ที่ได้รับการการันตีโดยการดำรงตำแหน่งนั้น ก็ไม่ได้เป็นแหล่งที่จะทำให้สถานะของข้าราชการสูงขึ้นซึ่งตำแหน่งของเขานั้นมันคงอยู่แล้ว ในความเป็นจริงกลับตรงกันข้าม โดยเฉพาะในวัฒนธรรมและชุ่มชนเก่าแก่ที่มีความแตกต่างในชนชั้นสูง ในชุมชนเช่นนั้นยิ่งมีความเข้มงวดของผู้ใต้บังคับบัญชาที่อยู่ภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จของนายมากเท่าไหร่ ยิ่งการันตีวิถีชีวิตแบบศักดินาดั้งเดิมของข้าราชการมากเท่านั้น เนื่องจากการขาดการประกันการดำรงตำแหน่งทางกฎหมาย การนับหน้าถือตาข้าราชการแบบโบราณอาจเพิ่มขึ้นเช่นในระหว่างยุคกลาง การนับถือชนชั้นสูงที่อยู่ในตำแหน่งเพิ่มขึ้นตามค่าของการนับถืออิสรชน และเช่นเมื่อผู้พิพากษาของกษัตริย์มีมากกว่าผู้พิพากษาของประชาชน ในเยอรมัน ข้าราชการทหารหรือข้าราชการฝ่ายบริหารสามารถถูกถอดออกจากตำแหน่งเมื่อไหร่ก็ได้ หรืออย่างน้อยเร็วกว่า “ผู้พิพากษาอิสระ” ผู้ซึ่งไม่เคยต้องจ่ายเมื่อสูญเสียตำแหน่งแม้เมื่อละเมิด “กฎเกียรติยศ”อย่างน่าเกลียดที่สุดหรือฝ่าฝืนธรรมเนียมปฏิบัติทางสังคมของซาลอน(กลุ่มนักการเมืองในสมัยก่อน)ด้วยเหตุนี้ หากสิ่งอื่นๆไม่แตกต่างกัน ในสายตาของชนชั้นเจ้านายผู้พิพากษาถูกมองว่ามีคุณสมบัติในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมน้อยกว่าเจ้าหน้าที่และข้าราชการบริหาร ผู้ซึ่งพึ่งพาเจ้านายมากกว่าอันเป็นการการันตีที่มากกว่าถึงความสอดคล้องกับธรรมเนียมปฏิบัติทางสถานะ เป็นที่แน่นอนว่าข้าราชการระดับกลางๆมุ่งที่จะได้มาซึ่งกฎหมายการบริการประชาชนซึ่งจะทำให้เขามั่นคงเมื่อแก่และเพิ่มการการันตีว่าเขาจะไม่ได้รับการถอดถอนจากตำแหน่งโดยอำเภอใจ แต่ความมุ่งหวังนี้ก็มีข้อจำกัด การพัฒนาอันเข้มแข็งของ “สิทธิต่อตำแหน่ง”ทำให้มันยากขึ้นที่จะจัดหาคณะทำงานให้พวกเขาเนื่องจากประสิทธิภาพเชิงเทคนิค เนื่องจากการพัฒนาดังกล่าวนั้นเพิ่มโอกาสทางอาชีพแก่ผู้สมัครเข้ารับตำแหน่งที่ทะเยอทะยาน นี่เป็นเพราะความจริงที่ว่าข้าราชการ โดยทั่วไป ไม่รู้สึกว่าต้องพึ่งพาคนเหล่านั้นที่สูงกว่า การขาดความรู้สึกต้องพึ่งพาอาศัยเป็นเพราะแนวโน้มที่จะพึ่งคนที่อยู่เท่าเทียมกันมากว่าพึ่งคนที่ด้อยกว่าทางสังคมหรือชนชั้นถูกกครอง ความเคลื่อนไหวเชิงอนุรักษ์นิยมท่ามกลางนักบวชเบดาเนีย เป็นเหตุมาจากความกังวลของสิ่งที่เชื่อว่าเป็นการคุกคามโดยการแยกศาสนาจักรและรัฐออกจากกัน โดยแสดงความมุ่งมั่นออกมาถึงความปรารถนาที่ไม่อยากจะเปลี่ยน”จากนายเป็นข้าของสิ่งที่เน่าเปื่อย” (หมายถึงมนุษย์ที่ตายได้ ไม่ยั่งยืน)
     
4. The official receives the regular pecuniary compensation of a normally fixed salary and the old age security provided by a pension. The salary is not measured like a wage in terms of work done, but according to 'status,' that is, according to the kind of function (the 'rank') and, in addition, possibly, according to the length of service. The relatively great security of the official's income, as well as the rewards of social esteem, make the office a sought-after position, especially in countries which no longer provide opportunities for colonial profits. In such countries, this situation permits relatively low salaries for officials.
4. ข้าราชการได้รับเงินชดเชยเป็นประจำเป็นเงินเดือนที่กำหนดไว้และหลักประกันเมื่อแก่เฒ่าจากบำนาญ เงินเดือนไม่ได้ถูกวัดเหมือนค่าจ้างที่ให้ตามงานที่ทำเสร็จ แต่ให้ตาม”สถานะ”(ตำแหน่ง) กล่าวคือตามชนิดการทำงาน (ตำแหน่ง ยศ)และ นอกจากนั้น หากเป็นไปได้ตามระยะเวลาการทำงาน ในทางสอดคล้องกันความมั่นคงของรายได้ของราชการ และรางวัลเรื่องความนับถือทางสังคม ทำให้ข้าราชการแสวงหาตำแหน่ง โดยเฉพาะในประเทศที่ไม่มีโอกาสจากผลประโยชน์ทางการเป็นอาณานิคมแล้ว ในประเทศเช่นนั้น สถานการณ์นี้ทำให้มีเงินเดือนแก่ข้าราชการน้อยตามไปด้วย
     
5. The official is set for a 'career' within the hierarchical order of the public service. He moves from the lower, less important, and lower paid to the higher positions. The average official naturally desires a mechanical fixing of the conditions of promotion: if not of the offices, at least of the salary levels. He wants these conditions fixed in terms of 'seniority,' or possibly according to grades achieved in a developed system of expert examinations. Here and there, such examinations actually form a character indelebilis of the official and have lifelong effects on his career. To this is joined the desire to qualify the right to office and the increasing tendency toward status group closure and economic security: All of this makes for a tendency to consider the offices as 'prebends' of those who are qualified by educational certificates. The necessity of taking general personal and intellectual qualifications into consideration, irrespective of the often subaltern character of the educational certificate, has led to a condition in which the highest political offices, especially the positions of 'ministers,' are principally filled without reference to such certificates.
5. ข้าราชการนั้นตั้งไว้เป็น“อาชีพ”ภายในลำดับขั้นของการบริการภาครัฐ เขาย้ายจากตำแหน่งที่ต่ำกว่า สำคัญน้อยกว่า และจ่ายน้อยกว่าไปที่ตำแหน่งที่สูงกว่า เจ้าหน้าที่ระดับปานกลางโดยธรรมชาตินั้นปรารถนาการแก้ไขทางกลไกของเงื่อนไขการเลื่อนตำแหน่ง หากไม่ใช่ตำแหน่งก็อย่างน้อยเรื่องระดับเงินเดือน เขาต้องการเงื่อนไขเหล่านี้ที่เกี่ยวข้องกับ “ความอาวุโส”ได้รับการแก้ไข หรือหากเป็นไปได้ให้ทำตามระดับที่ได้ในระบบที่พัฒนาขั้นของการทดสอบความเชี่ยวชาญ ทีละเล็กละน้อย การสอบเช่นนั้นทำให้เกิดลักษณะ indelebilis (น่าจะแปลว่าไม่ตาย ไม่สูญสื้นไป)ของข้าราชการและมีผลระยะยาวต่ออาชีพของเขา นอกจากนี้ยังมีความปรารถนาที่จะมีสิทธิ์ต่อตำแหน่งและแนวโน้มการยุติกลุ่มสถานะมากขึ้นและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดแนวโน้มที่จะคิดว่าตำแหน่งต่างๆนั้นเป็น “ค่าครองชีพ” ของคนที่มีคุณสมบัติเนื่องจากประกาศนียบัตรด้านการศึกษา ความจำเป็นในการนำเอาคุณสมบัติทางสติปัญญาและบุคคลเข้ามาพิจารณา โดยไม่คำนึงถึงประกาศนียบัตรด้านการศึกษาที่ด้อยในบางครั้ง นำไปสู่เงื่อนไขที่ว่าตำแหน่งทางการเมืองที่สูงสุดโดยเฉพาะตำแหน่ง “รัฐมนตรี” โดยหลักการสามารถเป็นได้โดยไม่ต้องมีประกาศนียบัตรนั้น

(แปลเพื่ออ่านเป็นเอกสารประกอบการเรียน MPA 37 จุฬา ฯ และผู้ที่สนใจอ่านศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาติให้นำไปเผยแพร่ที่เว็บอื่นค่ะ)